Integrated Science links to STEM Education, teaching approach as inquiry in DSKKU Khon Kaen, Thailand context : 2021 : Sukanya Sutaphan 

FACULTY OF EDUCATION

KHONKAEN UNIVERSITY

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)

ประมวลการสอนรายวิชา (Course Syllabus)

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

วิชา    วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม

รหัสวิชา  ว 21202 : Sc 21202

Integrated Science วิทยาศาสตร์บูรณาการฐานต้นทุนการศึกษาเรียนรู้

วิจัยและพัฒนา

R&D-i-Sc-STEM ED-PD-PLC

ระดับชั้น

ม.1/5 -1/6

จำนวน 1.0 หน่วยกิต

เวลาเรียน 2 คาบ/สัปดาห์

กลุ่มสาระ ฯ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเภทวิชา

เพิ่มเติม

ผู้สอน

อาจารย์ ดร.สุกัญญา  สุตะพันธ์

การจัดการเรียนรู้โดยการศึกษาวิจัย STEM Education เป็นฐานการพัฒนาเบื้องต้นฯ

 

 

รายวิชา 21202 วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม/วิทยาศาสตร์บูรณาการ 2                                               จำนวน    1   หน่วยกิต

Sc 21202                                   Integrated Science 2                             เวลาเรียน 2 คาบ/สัปดาห์

ศึกษา สังเกต ทดลอง อธิบาย วิเคราะห์ อภิปรายและแปลความหมาย เกี่ยวกับ มวลและน้ำหนัก การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ พลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสาร การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสารและการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารในชีวิตประจำวัน พลังงานและสารเคมี      ที่มีผลต่อการดำรงชีวิต ผลกระทบ ปัญหา และแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ปรากฏการณ์เรือนกระจก รูโหว่ ของโอโซน ฝุ่น PM 2.5 เป็นต้น โดยมีความเข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน บนพื้นฐานการคำนึงถึง "รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม"                         

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สังเกต สืบเสาะหาความรู้ สำรวจตรวจสอบทดลอง บันทึก จัดจำแนกข้อมูล อธิบาย อภิปราย วิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีความสามารถในการแก้ปัญหา สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้น และอาศัยกระบวนการเรียนรู้ Constructivism ที่ใช้สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ปรากฏการณ์เรือนกระจก รูโหว่โอโซน และ ฝุ่น PM 2.5 เป็นฐานการสร้างสรรค์ องค์ความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน รวมถึงให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมที่ผสมผสานทักษะ ความรู้ ในการแก้ปัญหาและการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ โดยผนวกกระบวนการคิดที่บูรณาการ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยี ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีคุณค่า และนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีจิตวิทยาศาสตร์ ตระหนักและเห็นคุณค่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรมจริยธรรมต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม และค่านิยมที่ดีและเหมาะสม ซึ่งมุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถ ในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา  ความสามารถ ในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี นักเรียนเริ่มต้นระบุสถานการณ์ปัญหา หรือความต้องการให้สอดคล้องกับเนื้อหา โดยพัฒนาจากการวิเคราะห์ปัญหา 5 ด้าน ได้แก่ ต้นทุนเทคโนโลยี ต้นทุนสังคม/ชุมชน ต้นทุนมนุษย์ ต้นทุนเศรษฐกิจ ต้นทุนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยให้นักเรียนค้นหาแนวคิดและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ฝึกให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรม นำข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นนั้น  นำมานำเสนอ/สื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา  และการทำงานเป็นทีม 

            ภาคเรียนที่ 2/2564

หน่วยที่ 1 :            ค้นหาแนวคิดและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง บูรณาการเพื่อวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์

                                Physics, Chemistry, Biology, Earth Science and Environmental Science

หน่วยที่ 2 :            พหุปัญญา (Multiple Intelligence) --> 9 MI ได้แก่ ……… เน้น "ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา" Natural Intelligence! 

หน่วยที่ 3 :            ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Natural Intelligence/NI)

หน่วยที่ 4 :            วิทยาศาสตร์บูรณาการ เชื่อมโยงสู่ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเบื้องต้น : 

                              STEM Education, teaching approach as inquiry in context (Sutaphan and Yuenyong, 2019) DSKKU Thailand  

                              กระบวนการทำงานเป็นทีม ด้วยการบูรณาการสหวิชา เติมฐานการเรียนรู้สู่นวัตกร ประเด็นปัญหาทางสังคม/สถานการณ์                                    สิ่งแวดล้อมแต่ละระดับ เช่น ระดับโรงเรียน ชุมชน ปัญหาในระดับประเทศและระดับโลก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ                                          ของโลก ปรากฏการณ์เรือนกระจก รูโหว่โอโซน และ ฝุ่น PM 2.5 เป็นฐานการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน

หน่วยที่ 5 :            6 สมรรถนะในหลักสูตรไทย 8 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และบัญญัติ 10 ประการให้เยาวชนนำไทย

                              (10 Principles for Youth to Keep Thailand Moving Forward)

Midterm - Final-2-2021 Academic Year

หน่วยที่ 6 :            Search, Study and Research : กระบวนการสืบค้น ศึกษาและวิจัยเบื้องต้น เพื่อให้ได้  ข้อค้นพบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมผลกระทบต่อสังคม และแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว เช่น ปัญหาน้ำเสีย ดินเสื่อมสภาพ ปัญหาโลกร้อน-การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ปรากฏการณ์เรือนกระจก รูโหว่โอโซน และ ฝุ่น PM 2.5

หน่วยที่ 7 :            Six Hs : 1-Heart, 2-Head, 3-Hand, 4-Health, 5-Humility, and 6-Harmony

หน่วยที่ 8 :            นำข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น ศึกษาและวิจัย ซึ่งได้องค์ความรู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการ                                         ทำงานเป็นทีม

หน่วยที่ 9 :            นำเสนอ/สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม

นักเรียนชั้น

วัน

คาบ

เวลา

ห้องเรียน

. 1/5

ศุกร์

1-2

08.40-10.20 .

Sc : 4-102/4-104 & Tc : Computer-2

. 1/6

อังคาร

1-2

08.40-10.20 .

Sc : 4-102/4-104 & Tc : Computer-2